สถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองเจดดาห์ ได้ร่างแผนช่วยเหลือและอพยพคนไทย ประจำปี 2553 (Royal Thai Consulate – General, Jeddah, Evacuation Plan 2010) โดยวัตถุประสงค์หลักของแผนดังกล่าวคือ การให้ความช่วยเหลือและอพยพคนไทยออกจากพื้นที่เสี่ยงหรือพื้นที่ประสบภัยไปยังจุดที่ปลอดภัยที่ใกล้ที่สุดโดยเร็วที่สุด โดยจะประเมินจากความรุนแรงของสถานการณ์และปฎิบัติตามแนวทางที่ระบุไว้ในแต่ละระดับความรุนแรง (เอกสารแนบ 1) ในกรณีที่มีเหตุหรือภาวะฉุกเฉินต่างๆ เกิดขึ้น เช่น ความไม่สงบทางการเมือง (อาทิ สงครามการเมือง) ภัยพิบัติทางธรรมชาติ (อาทิ แผ่นดินไหว อุทกภัย) เหตุการณ์ก่อการร้าย และการเกิดโรคระบาด โดยจะมีการจัดตั้งศูนย์อำนวยการช่วยเหลือและอพยพคนไทยของสถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองเจดดาห์ (เอกสารแนบ 2) หากสถานกงสุลฯ ประเมินแล้วเห็นว่ามีความจำเป็นต้องจัดตั้งหน่วยงานเฉพาะกิจขึ้นเพื่อประสาน ติดตามประเมินสถานการณ์ และดูแลกำกับการให้ความช่วยเหลือและ/หรืออพยพคนไทย เพื่อรองรับสถานการณ์นั้น ๆ เนื่องจากประเทศซาอุดีอาระเบียยังมีความเสี่ยงต่อภัยคุกคามทางด้านการก่อการร้าย มีภูมิประเทศที่รายล้อมไปด้วยประเทศที่มีภาวะไม่ปรกติในภูมิภาคตะวันออกกลาง และเป็นประเทศที่ยังไม่มีประสบการณ์ในการรับมือกับภัยพิบัติทางธรรมชาติ จึงมีความเสี่ยงในระดับสูงที่กลไกภายในประเทศจะไม่สามารถรองรับการอพยพคนจำนวนมากออกจากพื้น (mass evacuation) ที่ในเวลาเดียวกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้น สถานกงสุลใหญ่ฯ จึงได้ร่างแนวทางการอพยพเพิ่มเติมให้เป็นส่วนหนึ่งของแผนช่วยเหลือและอพยพ เพื่อให้การดำเนินการในการให้ความช่วยเหลือคนไทยของสถานกงสุลใหญ่ฯ เป็นไปอย่างมีระบบมากขึ้น และอาจประสานขอรับความสนับสนุนด้านภารกิจจาก สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงริยาด สถานเอกอัครราชทูตของไทยในประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาค สกญ. ต่างประเทศในเมืองเจดดาห์ และองค์การระหว่างประเทศต่างๆ หากจำเป็น ทั้งนี้ สถานกงสุลฯ จะเน้นการให้การให้ข้อมูลเกี่ยวกับแนวทางการปฏิบัติที่สำคัญในภาวะปรกติเป็นหลัก โดยจะจัดให้มีการซักซ้อม ทำความเข้าใจแผนอพยพกับแกนนำและชุมชนชาวไทยประจำแต่ละเมืองในโอกาสต่าง ๆ เช่น กงสุลสัญจร เพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับแนวทางการปฏิบัติต่าง ๆ หากมีเหตุเกิดขึ้น
กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายหลักสำหรับแผนการช่วยเหลือและอพยพของสถานกงสุลใหญ่ฯ คือคนไทยในพื้นที่ภาคตะวันตกของประเทศซาอุดีอาระเบีย ซึ่งในชั้นนี้มีอยู่ประมาณ 15,000 คน โดยมีเมืองมักกะห์ เมืองเจดดาห์ และเมืองตาอิฟ เป็นเมืองที่มีคนไทยอาศัยอยู่มากที่สุดตามลำดับ (*หมายเหตุ - ภาคตะวันตกของประเทศซาอุดีอาระเบียประกอบด้วย 12 เมือง ที่อยู่ในความดูแลของสถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองเจดดาห์ คือ เมืองมักกะห์ เมืองเจดดาห์ เมืองมาดีนะห์ เมืองรอบิค เมืองยันบู
เมืองตาอิฟ เมืองอัลบาฮา เมืองปัญจาเรซี เมืองบิชา เมืองอัลเลซ เมืองมูซัลลีฟ และเมืองวัสกอฮ์)
ในกรณีฉุกเฉิน ทุกคนจำเป็นต้องปฏิบัติตามขั้นตอนที่วางไว้อย่างเคร่งครัด เพื่อให้การดำเนินการให้ความช่วยเหลือของสถานกงสุลใหญ่ฯ หรือการให้ความช่วยเหลือผ่านหน่วยงานอื่นที่ได้ประสานไว้ เป็นไปอย่างรวดเร็วและราบรื่นที่สุด โดยขอให้ยึดแนวทางปฏิบัติ ดังนี้
1. การเตรียมพร้อม (Standfast)
เมื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉิก ขอให้คนไทยทุกคนติดตามข่าวสารอย่างใกล้ชิด โดยศูนย์อำนวยการช่วยเหลือและอพยพคนไทยของเมืองเจดดาห์จะแจ้งข้อมูลที่สำคัญต่าง ๆ ผ่านสื่อหลัก คือ หัวหน้าชุมชนชาวไทยในแต่ละเมือง และสถานีโทรทัศน์ชอ่ง Thai Global Network (TGN) เพื่อให้เตรียมพร้อมรอสัญญานไปรวมตัวตามจุดรวมตัว (Assembly Points) หรือศูนย์อพยพ (Evacuation Center) ที่ใกล้ที่สุด (เอกสารแนบ 3.1) ทั้งนี้ ขอให้มีการเตรียมสิ่งของและเอกสารสำคัญ ตามรายการ(Emergency Checklist) ดังนี้
รายการสิ่งของและเอกสารที่ต้องเตรียมพร้อมกรณีฉุกเฉิน (Emergency Checklist)
|
รายการสิ่งของที่จำเป็น
|
เอกสารสำคัญประจำตัว
|
1. ยาสามัญและยาประจำตัว
2. น้ำ / อาหารแห้งและอาหารสำเร็จรูป
3. ของใช้ส่วนตัว (อาทิ ทิชชู สบู่ แปรง/ยาสีฟัน)
4. สำหรับทารกและเด็กอ่อน ขอให้จัดเตรียม อาหารเด็กอ่อน ผ้าอ้อม นมผง และอื่น ๆ ด้วย
5. ผ้าห่ม / ถุงนอน
6. เสื้อผ้าสำรอง 2-3 ชุด
7. กล่องปฐมพยาบาล (First Aid Kit)
8. ไฟฉาย / ถ่านสำรอง
9. เงินสดสกุลท้องถิ่น และ หากเป็นไปได้เงินสกุลอื่น
ที่ใช้เป็นสกุลกลาง เช่น ดอลลาร์สหรัฐ
|
1. หนังสือเดินทาง (passport)
2. บัตรประจำตัวประชาชน
3. บัตรอิกาม่า (Iqama)
4. ทะเบียนบ้าน / สูตรบัตร / ใบสมรส
5. รูปถ่าย
6. ใบสำคัญอื่น ๆ อาทิ สมุดบัญชี ใบขับขี่ กรมธรรม์
|
2. การรวมตัว (Assembly)
เมื่อได้รับสัญญานให้รวมตัว ขอให้เดินทางไปยังจุดรวมตัวที่ใกล้ที่สุดตามที่หัวหน้าชุมชนประสานไว้หรือตามที่ประกาศในสถานีโทรทัศน์ช่อง TGN โดยทันที และขอให้นำสิ่งของและเอกสารสำคัญมาเพื่อรายงานตนและสมาชิกครอบครัว เพื่อรอการอพยพต่อไป
3. กรณีเคลื่อนย้ายและกรณีอพยพ (Relocate and Evacuation)
เนื่องจากความรุนแรงและพัฒนาการของสถานการณ์ต่าง ๆ เป็นสิ่งที่ไม่สามารถคาดการณ์ได้ ดังนั้น ศูนย์อำนวยการช่วยเหลือและอพยพคนไทยของเมือง
เจดดาห์จะประเมินว่าการให้ความช่วยเหลือในแต่ละกรณีนั้น จะเป็นการเคลื่อนย้ายออกนอกพื้นที่เสี่ยงหรือจะเป็นการดำเนินการอพยพแบบเต็มรูปแบบ ทั้งนี้ หากพบว่ามีบุคคลใดที่ประสงค์จะไม่รับการเคลื่อนย้ายหรืออพยพ ก็สามารถทำได้ ที่จะอยู่ต่อในจุดหรือบริเวณเสี่ยงภัยต่อไป ทั้งนี้ ศูนย์ฯ จะถือว่าส่วนราชการได้จัดเตรียมช่องทางในการให้ความช่วยเหลือแล้ว แต่จะไม่รับผิดชอบความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น เนื่องจากเป็นความสมัครใจส่วนบุคคล
ชื่อเมือง (แกนนำ)
|
จุดรวมตัว (Assembly Points)
|
เจดดาห์
|
อยู่ระหว่างการประสาน
|
มักกะห์
|
อยู่ระหว่างการประสาน
|
มาดีนะห์
|
อยู่ระหว่างการประสาน
|
รอบิค
|
อยู่ระหว่างการประสาน
|
ยันบู
|
อยู่ระหว่างการประสาน
|
ตาอิฟ
|
อยู่ระหว่างการประสาน
|
อัลบาฮา
|
อยู่ระหว่างการประสาน
|
ปัญจาเรซี
|
อยู่ระหว่างการประสาน
|
บิชา
|
อยู่ระหว่างการประสาน
|
อัลเลซ
|
อยู่ระหว่างการประสาน
|
มูซัลลีฟ
|
อยู่ระหว่างการประสาน
|
วัสกอฮ์
|
อยู่ระหว่างการประสาน
|
แนวทางการประเมินระดับความรุนแรงของสถานการณ์และแผนการดำเนินการที่เกี่ยวข้อง 4 ระดับ
|
ระดับที่ 1
(สีเขียว)
|
การเตรียมความพร้อมในสภาวะปกติ
|
ปัจจัยบ่งชี้
|
สถานการณ์ดำเนินไปปกติ
|
ปัจจัยควบคุม
|
รัฐบาลบริหารงานตามปกติ
|
เป้าหมาย
|
เตรียมความพร้อมของสถานเอกอัครราชทูตฯ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและเครือข่ายคนไทย
|
การดำเนินการ
|
|
1.
|
ปรับปรุงทะเบียนรายชื่อ/ที่อยู่ และหมายเลขโทรศัพท์ติดต่อของคนไทยให้ทันสมัย
|
2.
|
ตรวจสอบอุปกรณ์สื่อสาร และยานพาหนะของสถานกงสุลฯ
|
3.
|
จัดตั้งเครือข่ายแกนนำคนไทยในภาคตะวันตกของซาอุดีอาระเบีย โดยผ่านหัวหน้าชุมชนไทย หัวหน้าแรงงานไทย สมาคม และชมรมคนไทย
|
4.
|
จัดทำรายชื่อและที่อยู่ พร้อมหมายเลขโทรศัพท์ โทรสาร อีเมล์ของบุคคล หรือหน่วยงานรัฐบาลที่เกี่ยวข้องของซาอุดีอาระเบียที่จำเป็นต้องมีการติดต่อ อาทิ สถานีตำรวจ โรงพยาบาล สายการบิน หน่วยงานที่ดำเนินการอพยพคนของทางการซาอุดีอาระเบีย บริษัทให้บริการขนส่งโดยสาร รวมทั้งสถานเอกอัครราชทูตของประเทศ และองค์การระหว่างประเทศที่อาจเกี่ยวข้องให้ทันสมัย
|
5.
|
เดินทางไปพบปะหารือและสร้างคุ้นเคยกับเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นในซาอุดีอาระเบียที่เกี่ยวข้อง
|
6.
|
ศึกษาการดำเนินการตามแผนอพยพ และเส้นทางการอพยคนไทย อาทิ เส้นทางหลักและเส้นทางสำรองในสถานการณ์ต่าง ๆ ไปยังสถานที่พักพิงชั่วคราวในซาอุดีอาระเบีย หรือประเทศใกล้เคียง และการอพยพคนไทยจากซาอุดีอาระเบียกลับประเทศไทย
|
7.
|
เผยแพร่แผนอพยพคนไทยผ่านเว็ปไซต์ของสถานกงสุลใหญ่ฯ และประชาสัมพันธ์ให้คนไทยในภาคตะวันตกของซาอุดีอาระเบียลงทะเบียนผ่านช่องทางต่าง ๆ ที่กำหนดไว้
|
|
ระดับที่ 2
(สีเหลือง)
|
การเตรียมความพร้อมเมื่อมีสิ่งบอกเหตุ
|
ปัจจัยบ่งชี้
|
เริ่มมีข่าวความไม่สงบ ข้อพิพาท หรือมีความเป็นไปได้ที่จะเกิดการปะทะกันด้วยกำลังอาวุธ
|
ปัจจัยควบคุม
|
รัฐบาลซาอุดีฯ ยังควบคุมสถานการณ์ได้ในภาพรวม
|
เป้าหมาย
|
คนไทยในภาคตะวันตกของซาอุดีอาระเบียรับทราบสถานการณ์ เตรียมพร้อมจุดติดต่อของสถานกงสุลใหญ่ฯ และแกนนำคนไทย และเตรียมการดำเนินการตามแผนอพยพ และออกประกาศห้ามคนไทยเดินทางไปยังสถานที่มีเหตุการณ์ความไม่สงบ
|
การดำเนินการ
|
|
1.
|
ซักซ้อมความเข้าใจในการดำเนินการตามแผนอพยพกับสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงริยาด และซักซ้อมการสื่อสารกับแกนนำคนไทย
|
2.
|
แจ้งข่าว และแผนอพยพให้คนไทยในซาอุดีอาระเบียรับทราบเพื่อเตรียมตัวและเอกสารการเดินทางให้พร้อม ตลอดจนการขอรับการตรวจลงตราจากประเทศที่อาจต้องเดินทางไปพักพิง
|
3.
|
เพิ่มมาตรการรักษาความปลอดภัยในสถานกงสุลฯ
|
4.
|
จัดเตรียมสถานที่สำหรับคนไทยที่จะอพยพไปพักพิง และติดต่อประสานงานกับเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นของทางการซาอุดีฯ เป็นระยะๆ เกี่ยวกับการดำเนินแผนอพยพ
|
ระดับที่ 3
(สีส้ม)
|
กรณีเกิดความไม่สงบเริ่มส่งผลกระทบต่อความปลอดภัย
|
ปัจจัยบ่งชี้
|
เกิดเหตุการณ์วุ่นวายที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิต และมีแนวโน้มที่จะขยายตัวหรือยืดเยื้อ
|
ปัจจัยควบคุม
|
มีเหตุบ่งชี้ว่ารัฐบาลซาอุดีฯ ไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ให้อยู่ในความสงบเรียบร้อยได้ตามปกติ การดำรงชีวิตของประชาชนเริ่มผิดปกติวิสัย บริการภาครัฐเริ่มมีความจำกัด
|
เป้าหมาย
|
ให้คนไทยที่ไม่มีความจำเป็นต้องพำนักอยู่ในซาอุดีฯ เดินทางออกนอกประเทศให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เด็ก สตรี และคนชรา
|
การดำเนินการ
|
|
1.
|
ประสานงานกับหน่วยงานรัฐบาลท้องถิ่น หารือกับ สอท./สกญ. ของต่างประเทศ และองค์การระหว่างประเทศต่างๆ และวิเคราะห์/ประเมินสถานการณ์
|
2.
|
ประสานงานกับหน่วยงานรัฐบาลท้องถิ่น และ สอท./สกญ ของมิตรประเทศเพื่อขอรับการสนับสนุนการดำเนินแผนอพยพ
|
3.
|
เปิดศูนย์อำนวยการช่วยเหลือคนไทย และประชาสัมพันธ์เรื่องสถานการณ์ความไม่สงบให้ชุมชนคนไทย และแกนนำคนไทย หรือหัวหน้าแรงงานไทยทราบเป็นระยะ (แจ้งกระทรวงการต่างประเทศพิจารณาจัดตั้งศูนย์ประสานงาน)
|
4.
|
สถานกงสุลใหญ่ฯ เตรียมสำรองเงินสดในมือเพื่อรับกรณีฉุกเฉิน และพิจารณาจัดเตรียมการสำรองอาหาร เวชภัณฑ์ สิ่งจำเป็นอื่น ๆ
ให้เพียงพอกับจำนวนคนไทยที่อาจต้องไปพักพิงในสถานที่พักพิงชั่วคราว
|
5.
|
เตรียมการหาสถานที่พักพิงชั่วคราวให้แก่คนไทยที่จะอพยพไปพักพิง
|
6.
|
ประชาสัมพันธ์ให้คนไทยในพื้นที่ที่มีเหตุการณ์ความไม่สงบ เดินทางออกนอกพื้นที่ และห้ามคนไทยเดินทางเข้าไปในพื้นที่ที่มีเหตุการณ์ความไม่สงบ
|
7.
|
จัดอุปกรณ์สื่อสารให้เจ้าหน้าที่และแกนนำคนไทยพกพาติดตัวเพื่อใช้ในการประสานงานกันตลอด 24 ชั่วโมง
|
8.
|
ประสานงานกับบริษัท การบินไทย มหาชน จำกัด หรือสายการบินอื่นเพื่อเตรียมสำรองที่นั่งให้แก่คนไทยที่จะอพยพกลับประเทศไทย
|
9.
|
กำหนดแผนอพยพคนไทย โดยหารือกับรัฐบาลท้องถิ่น และกระทรวงการต่างประเทศถึงแนวทางในการดำเนินการ อาทิ การใช้เครื่องบินพิเศษรับอพยพคนไทย การอพยพคนไทยไปประเทศที่ใกล้เคียงที่สามารถให้การพักพิงได้เป็นการชั่วคราว ฯลฯ
|
ระดับที่ 4
(สีแดง)
|
กรณีเกิดความไม่สงบและส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยจนถึงขั้นต้องอพยพคนไทยออกนอกพื้นที่เสี่ยงและ/หรือออกนอกประเทศ
|
ปัจจัยบ่งชี้
|
เกิดเหตุการณ์วุ่นวายทางการเมืองหรือภัยพิบัติอย่างรุนแรง ทำให้เกิดภาวะการขาดแคลนอาหารและบริการสาธารณูปโภค หรือมีการปล้นสดมภ์ และสถานการณ์บ่งชี้ถึงความไม่ปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สิน
|
ปัจจัยควบคุม
|
รัฐบาลซาอุดีฯ ควบคุมสถานการณ์ไม่ได้ และคาดว่าจะเกิดภาวะมิคสัญญี หรือสงครามกลางเมือง/สงครามเบ็ดเสร็จ
|
เป้าหมาย
|
ดำเนินการอพยพคนไทยที่ยังพำนักอยู่ ออกนอกพื้นที่เสี่ยงและออกนอกประเทศ
|
การดำเนินการ
|
|
1.
|
แจ้งคนไทยที่อยู่ในพื้นที่ที่มีเหตุการณ์ความไม่สงบให้เดินทางไปพักพิงที่สถานที่พักพิงชั่วคราว หรือเดินทางกลับประเทศไทย
|
2.
|
จัดตั้งศูนย์อำนวยการช่วยเหลือและอพยพคนไทย โดยระดมเจ้าหน้าที่และผู้นำคนไทยให้มีส่วนร่วมในการปฏิบัติภารกิจของศูนย์ฯ และในการดูแลสถานที่พักพิงชั่วคราว รวมทั้งจัดเวรเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานตลอด 24 ชั่วโมง
|
3.
|
ประสานงานกับ สอท. ณ กรุงริยาด และ สอท. ไทยในประเทศใกล้เคียง รวมทั้งทางการซาอุดีฯ ในการพิจารณาหาทางนำคนไทยที่อยู่ในพื้นที่
ที่มีเหตุการณ์ความไม่สงบที่ไม่สามารถเดินทางออกไปได้เอง ไปยังสถานที่พักพิงชั่วคราว
|
4.
|
แจ้งรัฐบาลซาอุดีฯ อย่างเป็นทางการเกี่ยวกับการดำเนินการอพยพคนไทย และขอรับการสนับสนุนในด้านการรักษาความปลอดภัยระหว่างการเคลื่อนย้ายอพยพคนไทย การรักษาความปลอดภัยของสถานที่พักพิงชั่วคราว สกญ. และบ้านพัก กสญ.
|
5.
|
ดำเนินแผนอพยพคนไทยอย่างเต็มรูปแบบ โดยประสานงานกับกระทรวงการต่างประเทศและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของซาอุดีฯ สอท. องค์การระหว่างประเทศ และหน่วยงานอื่น ๆ เช่น สายการบินต่างๆ เพื่อทำการอพยพคนไทยออกจากซาอุดีฯ ไปยังประเทศที่มีความปลอดภัยหรือ กลับประเทศไทยตามความเหมาะสมของสถานการณ์
|
|
การอพยพออกนอกประเทศ (การอพยพแบบเต็มรูปแบบ)
(1) รายงานสถานการณ์ให้กระทรวงฯ ทราบ
(2) ขออนุญาตกระทรวงฯ สั่งการให้ปิด สอท. / สกญ. และอพยพคนไทยออกนอกประเทศซาอุดีฯ
(3) กำหนดพื้นที่รวมพลเพื่ออพยพ / แจ้งคนไทยผ่านหัวหน้าชุมชนเกี่ยวกับการดำเนินแผนฯ และขอความร่วมมือสถานีโทรทัศน์ TGNประชาสัมพันธ์อีกทางหนึ่ง
(4) ประสานงานกระทรวงการต่างประเทศซาอุดีฯ / กรมการบินพลเรือนซาอุดีฯ ขอ flight clearance กรณีต้องนำเครื่องบินพิเศษจากประเทศมารับคนไทย
(5) ประสานงานกับทางการซาอุดีฯ ขอ exit visa ให้คนงานไทยได้เดินทางออกจากซาอุดีฯ และติดต่อขอนุญาตนายจ้างของคนงานไทยด้วย
(6) ในกรณีที่ไม่มีเอกสารเดินทางให้ สอท. ออกหนังสือเดินทางชั่วคราว หรือเอกสารสำคัญประจำตัว (CI) ให้
(7) จัดหา/จัดซื้ออาหารและวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ สำหรับดำเนินการตามแผนฯ
|
ศูนย์อำนวยการช่วยเหลือและอพยพคนไทย
|
ของสถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองเจดดาห์
|
|
หัวหน้าศูนย์ฯ (กงสุลใหญ่ / รษก. กงสุลใหญ่)
- เลขานุการหัวหน้าศูนย์ฯ (นายพีระพงษ์ฯ)
- นายยาฯ (พข.)
-
ติดตามและประเมินสถานการณ์
-
กำหนดระดับการเตรียมความพร้อม
-
กำหนดจุดรวมตัวและสถานที่พักพิงของคนไทย
-
กำหนดเส้นทางอพยพ/จุดหมายปลายทางของการอพยพ
-
อำนวยการช่วยเหลือและอพยพคนไทยในภาพรวม
|
|
|
ฝ่ายประสานงาน
- รองกงสุลใหญ่ (นายสุรินทร์ฯ) หัวหน้าฝ่าย
- กงสุล (นายอัญชลิตฯ)
- ประธานชุมชนไทย / หัวหน้าชุมชนชาวไทยในแต่ละเมือง
- นายฮารูณฯ นายสำราญฯ นายมุหาหมะฯ (พข.)
-
ประสานงานเครือข่ายคนไทย
-
ประสานงานหน่วยงานฝ่ายไทย รวมทั้งกระทรวงการต่างประเทศ
-
ประสานงานฝ่ายซาอุดีฯ และหน่วยงานในและนอกซาอุดีฯ
-
ปฏิบัติงานตามที่หัวหน้าศูนย์ฯ มอบหมาย
|
|
ฝ่ายปฏิบัติการ
- อทป. สนง. แรงงาน (นายเกรียงศักดิ์ฯ) หัวหน้าฝ่าย
- กงสุล (นายหาลิมฯ)
- นายคอเซ็งฯ นายซุฟเฟียนฯ นายฮากีมฯ นายอารีฯ (พข.) นายมุนีฯ
-
เดินทางไปช่วยเหลือคนไทยในจุดต่างๆ
-
ทำการอพยพคนไทยไปยังจุดนัดหมาย/สถานที่พักพิง
-
ให้ความช่วยเหลือคนไทยในระหว่างการเดินทางและการอพยพ
-
ปฏิบัติงานตามที่หัวหน้าศูนย์ฯ มอบหมาย
|
|
ฝ่ายจัดหา/จัดซื้อ
- อทป. สนง. สคร. (นายศิวะลักษณ์ฯ) หัวหน้าฝ่าย
- กงสุล (นายสุชาติฯ นายอัซมันฯ นายอรรถชัยฯ)
- นายดอเลาะฯ นายอิบรอเหมฯ (พข.)
-
จัดเตรียมและจัดหายานพาหนะและสถานที่พัก
-
จัดหาบัตรโดยสารเครื่องบิน ฯลฯ
-
เตรียม/จัดหาอุปกรณ์สื่อสาร
-
เตรียมเครื่องอุปโภคและเวชภัณฑ์/บริการทางการแพทย์
-
ปฏิบัติงานที่ศูนย์ฯ มอบหมาย
|
|
|
|
|
|
|