EXPO 2028 PHUKET, THAILAND ไทยพร้อมแล้วกับการเป็นเจ้าภาพจัดงานระดับโลก

EXPO 2028 PHUKET, THAILAND ไทยพร้อมแล้วกับการเป็นเจ้าภาพจัดงานระดับโลก

วันที่นำเข้าข้อมูล 1 มี.ค. 2566

| 5,415 view

EXPO 2028 PHUKET, THAILAND
ไทยพร้อมแล้วกับการเป็นเจ้าภาพจัดงานระดับโลก

บทความจากวารสาร InterEcon ฉบับที่ 18 Vol. 2/2565
โดย กรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ

Perspective_10.3

ทวนความ
[วารสาร InterEcon ฉบับที่ 17, “ไทยพร้อมแล้วกับการเป็นเจ้าภาพจัดงานระดับโลก Expo 2028 - Phuket, Thailand”]

- Specialised Expo หรือ เอ็กซ์โปวาระพิเศษ คือ งานมหกรรมนานาชาติลำดับรองจาก World Expo และมีหัวข้อที่ชัดเจนกว่า แต่ขนาดงานเล็กกว่า และระยะเวลาการจัดสั้นกว่า 

- ภูเก็ตสมัครแข่งขันเป็นเจ้าภาพ Specialised Expo ในปี พ.ศ. 2571 (ค.ศ. 2028) โดยเสนอหัวข้อ “ชีวิตแห่งอนาคต-แบ่งปันความรุ่งเรือง อยู่ร่วมกันเป็นหนึ่งเดียว”

- คู่แข่ง 4 ประเทศ ได้แก่ สเปน สหรัฐอเมริกา อาร์เจนตินา และเซอร์เบีย

- คาดว่าตลอด 3 เดือนของการจัดงาน จะมีผู้เข้าร่วมงาน 4.9 ล้านคน เงินสะพัดกว่า 49,000 ล้านบาท และเกิดการจ้างงานเพิ่มกว่า 1.1 แสนตำแหน่ง

Perspective_10.2ทำไมภูเก็ต

(1) ภูเก็ตเป็นที่รู้จักดีในฐานะเมืองท่องเที่ยวในระดับโลก จึงมีเครดิตที่ดีช่วยขจัดข้อกังขาต่อความพร้อมและมาตรฐานในการรองรับผู้เข้าร่วมงานจำนวนมาก 

(2) Specialised Expo มีเงื่อนไขที่จะต้องใช้สิ่งที่มีอยู่หรือสิ่งที่มีแผนจะทำอยู่แล้วเป็นพื้นที่ในการจัดงาน ซึ่งภูเก็ตตอบโจทย์นี้ได้เป็นอย่างดีเพราะมีแผนยกระดับจังหวัดเป็นเมืองท่องเที่ยวเชิงสุขภาพระดับโลก โดยจะมีศูนย์บริการทางการแพทย์ครบวงจรมาตรฐานนานาชาติ มีแผนส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงธุรกิจหรือ MICE โดยจะมีศูนย์การประชุมระดับนานาชาติแห่งใหม่ในพื้นที่ ตลอดจนมีแผนการพัฒนาโครงข่ายคมนาคมและพัฒนาเมืองในมิติอื่น ๆ เพื่อรองรับเป้าหมายข้างต้นภายในปี 2569

(3) ทิศทางการพัฒนาของภูเก็ตและประเทศไทยมุ่งสู่ทิศทางความยั่งยืนสอดคล้องกับตัวแบบเศรษฐกิจ BCG (Bio.Circular.Green) ซึ่งเป็นแนวโน้มระดับโลก อันสะท้อนให้เห็นถึงประเด็นที่ประชาคมโลกให้ความสำคัญ และเป็นที่มาของหัวข้อที่ภูเก็ตนำเสนอสำหรับงานนี้

(4) ภาคเอกชนและประชาชนในพื้นที่เห็นประโยชน์และพร้อมมีส่วนร่วมสนับสนุนการเป็นเจ้าภาพ

Perspective_9.1

ขั้นตอนการลงคะแนนเลือกเจ้าภาพ

ประเทศสมาชิกองค์การนิทรรศการนานาชาติ (BIE) 171 ประเทศ มีประเทศละ 1 เสียง โดยผู้ชนะจะต้องได้รับเสียง 2 ใน 3 หากไม่มีประเทศใดได้รับ ก็จะตัดประเทศที่ได้เสียงน้อยที่สุดในรอบนั้นออกและเริ่มลงคะแนนรอบใหม่ ทำเช่นนี้เรื่อยไปจนได้    ผู้ชนะ โดยทุกประเทศสมาชิกลงคะแนนได้ในทุกรอบ 

f1surreal_afternoon

นับถอยหลังสู่การลงคะแนนเสียง - การดำเนินการของไทย

- มิถุนายน 2565 ยกทีมแสดงความพร้อมครั้งที่ 1 ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของ BIE ครั้งที่ 170 กรุงปารีส ฝรั่งเศส

- กรกฎาคม 2565 ต้อนรับคณะ BIE ลงพื้นที่ภูเก็ตและจังหวัดใกล้เคียงสำรวจพื้นที่เชิงลึกเพื่อประเมินความพร้อม ผลคือ ผ่านฉลุย

- พฤศจิกายน 2565 ยกทีมแสดงความพร้อมอีกครั้งต่อคณะกรรมการ BIE กรุงปารีส ฝรั่งเศส ย้ำความพร้อมในทุกมิติและแผนการจัดการและใช้ประโยชน์พื้นที่หลังจบงาน

- มกราคม 2566 ไปสู่การลงคะแนน

  • เชิญคณะทูตและกงสุลกิตติมศักดิ์ต่างประเทศในประเทศไทยรับฟังข้อมูลความพร้อมและขอรับการสนับสนุน
  • จัดกิจกรรมพบปะ เดินสาย ร่วมลงพื้นที่ทั้งในและนอกประเทศเพื่อให้ข้อมูลและขอรับการสนับสนุน
  • ทูตไทยทั่วโลกเคาะประตูขอรับเสียงสนับสนุนโดยตรงจากหน่วยงานที่รับผิดชอบของประเทศสมาชิก BIE
  • ภาคธุรกิจไทยขนาดใหญ่ในประเทศสมาชิก BIE ร่วมด้วยช่วยกันขอรับการสนับสนุนจากประเทศนั้น ๆ

- มิถุนายน 2566 การลงคะแนน

คาดว่า การลงคะแนนไม่น่าจะจบในรอบเดียว คือ ไม่มีประเทศผู้ลงสมัครใดได้เสียงถึง 2 ใน 3 ในรอบแรก ทุกเสียงสนับสนุนจึงมีความสำคัญไม่ว่าจะในรอบใด

bird-1_copy

ผลทางตรง ผลทางอ้อม

นอกจากภูเก็ต กลุ่มจังหวัด Andaman Wellness Corridor (AWC) ได้แก่ กระบี่ พังงา ตรัง ระนอง และสตูล จะมีโอกาสได้รับประโยชน์ทั้งทางตรงและทางอ้อมในทันทีและต่อไปในอนาคต เช่น
(1) ภาคอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและภาคที่เกี่ยวข้องย่อมมีโอกาสต้อนรับแขกที่เข้าร่วมงานเช่นเดียวกับภูเก็ต ซึ่งรวมถึงการเดินทางท่องเที่ยวต่อเนื่อง
(2) การจ้างงานที่จะเพิ่มขึ้นโดยตรงเพื่อรองรับผู้เข้าร่วมงานและจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้น
(3) การพัฒนาในพื้นที่ให้สามารถรองรับการจัดงานและโอกาสในอนาคต

(4) โอกาสระดับโลกที่จะได้ประชาสัมพันธ์ AWC อย่างไรก็ดี การจะได้รับประโยชน์มากน้อยเพียงใดขึ้นกับความมุ่งมั่นตั้งใจและความร่วมมือของทุกภาคส่วนทั้งราชการ เอกชน และประชาชน ที่จะต้องวางแผนเตรียมความพร้อมและลงมือคว้าโอกาสไว้ โดยต้องไม่ลืมว่า ไม่ว่าผลจะออกมาอย่างไร ภูเก็ตก็จะยังเดินหน้ายกระดับตามแผนสู่การเป็นเมืองท่องเที่ยวเชิงสุขภาพระดับโลก

หัวข้อ “ชีวิตแห่งอนาคต-แบ่งปันความรุ่งเรือง อยู่ร่วมกันเป็นหนึ่งเดียว”

หัวข้อถูกกำหนดขึ้นเพื่อมุ่งตอบข้อท้าทายที่โลกกำลังเผชิญ คือ ความยั่งยืน โดยมุ่งเน้น 3 มิติ ได้แก่ คน โลก และความรุ่งเรือง Expo 2028 - Phuket จึงจะเป็นเวทีให้นานาประเทศร่วมแสดงแนวคิดและนวัตกรรม ตลอดจนแสวงหาความร่วมมือที่จะบรรลุความยั่งยืนนี้

คนยั่งยืน คือ สุขภาพร่างกายที่แข็งแรง ความเป็นอยู่ที่ดี และสุขภาวะที่ดี โดยหมายรวมไปถึงปัจจัยต่าง ๆ ที่นำไปสู่สิ่งเหล่านี้ เช่น การศึกษาและการสาธารณสุขที่มีคุณภาพ  

โลกยั่งยืน คือ ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การอยู่ร่วมกันระหว่างคนกับธรรมชาติอย่างสมดุล ในขณะที่สังคมมนุษย์ยังสามารถพัฒนาและเติบโตต่อไป

ความรุ่งเรืองยั่งยืน คือ การเจริญรุ่งเรืองไปด้วยกัน มีความเท่าเทียมทางโอกาส