วันที่นำเข้าข้อมูล 15 ก.ย. 2562
วันที่ปรับปรุงข้อมูล 7 ก.ค. 2565
หนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ (E-Passport)
- หนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-passport) คืออะไร ?
คือ หนังสือเดินทางที่มีคุณลักษณะเฉพาะทางเทคนิค (Technical Specifications) ตามข้อกำหนดขององค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ ( ICAO) ซึ่งแตกต่างจาก หนังสือเดินทางแบบเดิม ดังนี้
- มีการบันทึกข้อมูลชีวภาพ ( biometric data) ได้แก่ ลายนิ้วมือ รูปใบหน้า ไว้ใน Contactless Integrated Circuit ซึ่งฝังอยู่ในเล่มหนังสือเดินทาง
- สามารถอ่านได้ด้วยเครื่อง Automatic Gate ณ จุดผ่านแดนระหว่างประเทศ โดยมีการตรวจพิสูจน์โดยอัตโนมัติ เพื่อเปรียบเทียบข้อมูลในหนังสือเดินทางกับผู้ถือหนังสือเดินทาง
- หนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ดีกว่าหนังสือเดินทางแบบเดิมอย่างไร
- สามารถป้องกันการปลอมแปลงได้สูง เป็นมาตรการสำคัญในการสกัดกั้นขบวนการก่อการร้ายข้ามชาติ การลักลอบเข้าเมือง ฯลฯ
- สามารถตรวจสอบเพื่อพิสูจน์ตัวบุคคลได้แม่นยำและรวดเร็ว อำนวยความสะดวกต่อการเดินทาง การเข้าเมืองและส่งเสริมการท่องเที่ยว
- เสริมสร้างภาพลักษณ์ของประเทศ ทำให้หนังสือเดินทางไทยมีความน่าเชื่อถือ และได้รับการยอมรับในระดับสากลยิ่งขึ้น ส่งผลต่อเนื่องทางบวกด้านเศรษฐกิจการค้า การลงทุนและการท่องเที่ยวของประเทศ
- หลักฐานการขอมีหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์สำหรับบุคคลทั่วไป
- บัตรประจำตัวประชาชนที่มีเลข 13 หลัก
- ทะเบียนบ้านที่มีหมายเลข 13 หลัก
- การยื่นคำร้อง
การยื่นคำร้อง ผู้ร้องจะต้องมายื่นคำร้องด้วยตนเอง เนื่องจากต้องผ่านกระบวนการบันทึกข้อมูลชีวภาพ (ถ่ายภาพใบหน้าและลายพิมพ์นิ้วมือ) ที่สถานกงสุลใหญ่ฯ โดยมีขั้นตอน ดังนี้
- พบเจ้าหน้าที่เพื่อวัดส่วนสูงเก็บข้อมูลชีวภาพ ถ่ายรูปและเก็บลายพิมพ์นิ้วมือด้วยเครื่อง สแกนเนอร์ นิ้วชี้ขวาและซ้ายข้างละ 2 ครั้ง
- ลงชื่อในใบคำร้อง
- ชำระเงินค่าธรรมเนียม
- รับใบเสร็จรับเงินและใบนัดจ่ายเล่ม
- ค่าธรรมเนียม
ค่าธรรมเนียมหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์เท่ากับหนังสือเดินทางที่ใช้ในปัจจุบัน คือ ราคาเล่มละ 130 ริยาล และมีอายุใช้งาน 5 ปี เช่นเดียวกับหนังสือเดินทางปัจจุบัน แต่ได้เพิ่มหน้าจากเดิม 32 หน้าเป็น 50 หน้า
- การต่ออายุหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์
- เพื่อให้หนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์มีประสิทธิภาพการใช้งานได้สูงสุด จึงกำหนดให้หนังสือเดินทางชนิดนี้มีอายุ ใช้งาน 5 ปี หนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์จะไม่มีการต่ออายุ แต่จะออกหนังสือเดินทางเล่มใหม่แทนเล่มเดิม
- ไม่อนุญาตให้ลงบันทึกแก้ไขเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงข้อความใด ๆ (เช่นการขอเปลี่ยนชื่อ/นามสกุล) ของผู้ถือหนังสือเดินทางลงในเล่มหนังสือเดินทางเพื่อป้องกันปัญหาการขาดความน่าเชื่อถือของข้อมูลตัวบุคคลที่บันทึกไว้ในหน้าหนังสือเดินทางซึ่งอาจขัดแย้งกับข้อมูลที่บันทึกไว้แล้วในไมโครชิพ ดังนั้นต้องแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อมูลของกระทรวงมหาดไทยให้เรียบร้อยก่อน จึงจะสามารถทำหนังสือเดินทางเล่มใหม่ได้
- ระยะเวลาเริ่มใช้หนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์
กำหนดให้บริการออกหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ ดังนี้
- ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2548 เป็นต้นไป เปิดให้บริการออกหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ทุกแห่ง ทั้งที่กรมการกงสุล สำนักงานสาขาทั้งในกรุงเทพฯ (ปิ่นเกล้า บางนา) ต่างจังหวัด (ขอนแก่น เชียงใหม่ และหาดใหญ่) และสถานเอกอัครราชทูต สถานกงสุลไทยในต่างประเทศทั้ง 86 แห่ง ทั่วโลก
- การรับเล่ม
- ผู้ร้องสามารถรับหนังสือเดินทางได้ 2 วันทำการภายหลังจากวันยื่นคำร้อง
- ในต่างประเทศ ผู้ร้องสามารถรับหนังสือเดินทางได้ประมาณ 6 สัปดาห์ ภายหลังจากวันยื่นคำร้อง
- ในกรณีจำเป็น อาจมอบอำนาจให้ผู้อื่นรับแทน/อาจร้องขอให้จัดส่งทางไปรษณีย์ด่วนพิเศษ